เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 7. ปฐมสัญญาสูตร
ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปหาท่าน
พระสารีบุตรถึงที่อยู่ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดิน
ว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่
รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี
สัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
“ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดิน
ว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่
ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
“ท่านอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ
ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความ
สิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน ท่านอานนท์ มีได้
อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาแม้ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ
ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
“ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับ
พยัญชนะของพระศาสดาและพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ใน
บทอันเลิศ1 ท่านผู้มีอายุ เมื่อสักครู่นี้ ผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อ

เชิงอรรถ :
1 บทอันเลิศ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/7-8/382)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :400 }